บทความ

กำลังแสดงโพสต์จาก มิถุนายน, 2017

สูตรสุคติ The Catalogue of Death

รูปภาพ
สูตรสุคติ The Catalogue of Death สูตรสุคติ หรือในชื่อภาษาอังกฤษคือ The Catalogue of Death เป็นหนังสือที่ว่าด้วยเรื่องราวทั้งหลายเกี่ยวกับความตาย ฉบับภาษาไทยจัดพิมพ์โดย สำนักพิมพ์แซลมอน พิมพ์สองสี (ขาวกับเหลือง) ความหนาประมาณ 170 หน้า ราคาตามปก 195 บาท เขียนโดย บุนเป โยริฟุจิ นักเขียน นักวาดภาพ และกราฟิคดีไซเนอร์ชาวญี่ปุ่นที่มีแฟนติดตามผลงานอย่างเหนียวแน่น สูตรสุคติได้รับการแปลจากภาษาญี่ปุ่นโดย ณัฐพงศ์ ไชยวานิชย์ผล แฟนพันธุ์แท้ประเทศญี่ปุ่นประจำปี 2557 นอกเหนือไปจากรางวัลนี้แล้วผู้แปลยังผ่านการศึกษาระดับปริญญาโทจากญี่ปุ่น ทำงานกับคนญี่ปุ่น เขียนหนังสือเกี่ยวกับญี่ปุ่น (เอ๊ะ ! เจแปน และ JAPAN DID ) รวมทั้งยังมีภรรยาเป็นชาวญี่ปุ่นด้วย จากคุณสมบัติดังกล่าวทำให้พออนุมานได้ว่าตัวนักแปลน่าจะมีความเข้าใจภาษาและวัฒนธรรมญี่ปุ่นเป็นอย่างดี ในเล่มแบ่งออกเป็น 8 บท ได้แก่ บทนำ, ประตูสู่ความตาย, รูปแบบของความตาย, จังหวะของความตาย, สถานที่ตาย, สาเหตุของความตาย, ตำนานของความตาย, และ วิถีแห่งความตาย แต่ละบทประกอบด้วยภาพเป็นส่วนใหญ่ เนื้อหาเป็นส่วนรอง คือมีรูปภาพอยู่มากกว่

ศิลปะเพื่อประชาชนบนโลกเสมือนจริง

รูปภาพ
ศิลปะเพื่อประชาชนบนโลกเสมือนจริง รีวิวหนังสือศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์  “ ศิลปะเพื่อชีวิต ศิลปะเพื่อประชาชน ” เป็นงานเขียนของ  จิตร ภูมิศักดิ์ ภายใต้นามปากกาว่า “ทีปกร” อันหมายถึงเทียนส่องทาง หรือผู้ให้แสงสว่าง นัยยะของนามปากกาดังกล่าวฉายแสดงให้เห็นอยู่บนปกหนังสือซึ่งเป็นภาพเขียนสีน้ำมันชื่อ Liberty Leading the People ของ Eugène Delacroix ศิลปินชาวฝรั่งเศส ภาพเขียนดังกล่าวนี้ก็เป็นที่รู้จักกันดีในฐานะที่เป็นสัญลักษณ์ของการปฏิวัติ หนังสือเล่มนี้ได้รับการตีพิมพ์ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2500 (ตามที่ปรากฏในคำนำของผู้เขียน) มีความยาวทั้งสิ้น 223 หน้า เนื้อหาภายในประกอบไปด้วยบทความที่จบในตัว 4 บท ซึ่งถูกเขียนขึ้นต่างกรรมต่างวาระแต่พุ่งเป้าไปที่จุดมุ่งหมายเดียวกัน บทความทั้ง 4 ชิ้น มีชื่อดังต่อไปนี้ (เรียงลำดับตามที่ปรากฏในเล่ม) 1) อะไรหนอที่เรียกกันว่าศิลปะ ? และที่ว่าศิลปะเป็นของสูงส่งนั้น มันสูงส่งเพราะความซับซ้อนศักดิ์สิทธิ์หรือไฉน ? (58 หน้า : 21-78) 2) ที่ว่า “ ศิลปะเพื่อศิลปะ ” นั้นคืออย่างไรกันแน่หนอ? (23 หน้า : 81-103) 3) “ ศิลปะเพื

ปรัชญาตายแล้ว? ประวัติศาสตร์ปรัชญา ฉบับกะทัดรัด

รูปภาพ
ปรัชญาตายแล้ว ?   ประวัติศาสตร์ปรัชญา ฉบับกะทัดรัด กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์ หนังสือ “ประวัติศาสตร์ปรัชญา ฉบับกะทัดรัด” เป็นหนังสือแปลจากภาษาอังกฤษชื่อ “ A Little History of Philosophy” โดย “ไนเจล วอร์เบอร์ตัน” (Nigel Warburton)  ซึ่ง เป็นนักเขียนหนังสือปรัชญาอ่านง่ายและขายดี และเป็น อาจารย์แห่ง Open University   หนังสือเล่มนี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยโดยนักเขียนซีไรต์อย่าง “ปราบดา หยุ่น” และ “รติพร ชัยปิยะพร” นักแปลที่มีผลงานแปลมากมาย อาทิ EURO ล่มสลาย, ที่ใดมีความเศร้า, แวมไพร์เลสแต็ท นอกจากนี้ รติพรยังเคยศึกษาปรัชญาทั้งในไทยและในฝรั่งเศสอีกด้วย  หนังสือเล่มนี้จัดพิมพ์โดย “สำนักหนังสือไต้ฝุ่น” ซึ่งเป็นบริษัทของปราบดาผู้แปลหนังสือเล่มนี้ มีความยาว 317 หน้า ราคาตามปก 320 บาท แม้จะเป็นหนังสือหมวดปรัชญาซึ่งปกติแล้วไม่ทำเงินให้กับผู้จัดพิมพ์มากนัก แต่ปรากฏว่าเล่มนี้กลับได้รับความนิยมทั้งในหมู่ผู้อ่านชาวไทย(ในฉบับแปล)และผู้อ่านชาวต่างประเทศ(ในฉบับภาษาอังกฤษ) ทำให้ฉบับแปลไทยได้รับการพิมพ์ครั้งที่  2  ในเวลาไม่นานหลังจากการพิมพ์ครั้งแรก ที่เป็นเช่นนี้ก็อาจด้วยความสามารถในการเล่

ความทรงจำของนายพลนากามูระ – ความทรงจำของข้าพเจ้า

รูปภาพ
ความทรงจำของนายพลนากามูระ – ความทรงจำของข้าพเจ้า กฤตภาศ ศักดิษฐานนท์ หนังสือ “ความทรงจำของนายพลนากามูระ” มีชื่อเต็มๆว่า “ผู้บัญชาการชาวพุทธ ความทรงจำของนายพลนากามูระเกี่ยวกับเมืองไทยสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา” ได้รับการตีพิมพ์ในภาคภาษาไทยครั้งแรกตั้งแต่เมื่อประมาณสิบปีก่อนคือ พ.ศ. 2534 โดยโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ต่อมาสำนักพิมพ์มติชนได้นำมาพิมพ์ซ้ำเมื่อปี 2546 และครั้งล่าสุดคือฉบับพิมพ์ครั้งที่ 3 เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมานี่เอง ( 2555) เนื้อหาทั้งหมดของหนังสือคือบันทึกของ “นายพลอาเคโตะ นากามูระ” ผู้ดำรงตำแหน่ง “ผู้บัญชาการกองทัพญี่ปุ่นประจำประเทศไทย” ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2486 จนกระทั่งสงครามโลกครั้งที่สองได้สิ้นสุดแล้วท่านก็ยังคงต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปอีก รวมเวลาทั้งหมดในหน้าที่ได้สามปีสามเดือน ระหว่างช่วงเวลาดังกล่าวนายพลนากามูระได้บันทึกเรื่องราวต่างๆไว้ค่อนข้างละเอียด แต่น่าเสียดายที่บันทึกนั้นถูกทหารอังกฤษยึดไปหลังสงครามและสูญหายไปในที่สุด หลังจากนั้นอีกหลายปีเขาจึงได้ทำการดึงความทรงจำเหล่านั้นกลับมาใหม่ จนกลายมาเป็นหนังสือเล่มนี้ในที่สุด บัน